รู้จักและรับมือภาวะคุณครูหมดไฟ หรือ Teacher Burnout

คุณครูหมดไฟ

Teacher Burnout ภาวะคุณครูหมดไฟต้องจัดการยังดี

ถึงแม้ว่าคุณครูจะเป็นอาชีพที่เกือบทุกคนทำด้วยความมุ่งมั่นและใจรัก แต่ก็เป็นอาชีพที่ต้องใช้พลังงานทั้งจากร่างกายและจิตใจสูงมาก เมื่อความเหนื่อยสะสม อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะหมดไฟหรือ Teacher Burnout ได้

Teacher Burnout คืออะไร?

เว็บ Psychology Today จำกัดความภาวะหมดไฟหรือ Burnout ภาวะตึงเครียดที่สำไปสู่ความอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิต รวมทั้งความรู้สึกหมดกำลังใจและหมดเป้าหมาย ซึ่งอาการ Burnout หรือหมดไฟนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกอาชิพ 

 ด้วยธรรมชาติของ อาชีพคุณครูนอกจากงานจะหนักแล้วยังมีความคาดหวัง ต้องคอยมองหาโอกาสพัฒนาตัวเองและคนรอบข้างใหม่ๆเสมอ ทำให้คุณครูหลายคนมองหาความสมบูรณ์แบบและเป้าหมายที่สูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของภาวะเครียดสะสมได้ และอาจจะก่อเกิดอาการหมดกำลังใจในการทำอาชีพที่ตนเคยรักต่อไป

สัญญาณบอกอาการ Burnout

          นอนหลับยากและหลับไม่ลึก

          ร่างกายเหนื่อยล้าเรื้อรัง

          สมาธิในการทำงานสั้นลง และเกิดอาการหลงลืมบ่อยๆ

          ความอยากอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงผิดปกติ หรือน้ำหนักขึ้นลงไม่มีสาเหตุ

          มีอาการเครียดและซึมเศร้า

เราจะหลีกเลี่ยงอาการ Burnout นี้ได้อย่างไร

Work-Life Balance ขีดเส้นชัดเจนระหว่างเวลางานและเวลาพัก เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องอยู่ในสภาวะตึงเครียดตลอดเวลา คุณครูควรขีดเส้นแบ่งเวลาพักผ่อนที่ตัดขาดจากเวลางานให้ชัดเจน เช่นตั้งกฏว่าจะมีหนึ่งวันหรือสองชั่วโมงต่อวัน ที่จะไม่ทำงานหรือนึกถึงงานโดยเด็ดขาด การเขียนตารางเวลาที่ชัดเจนในแต่ละวันจะช่วยคุณครูค่อยๆปรับชีวิตเข้าสู่ Work-Life Balance ได้ง่ายขึ้น

หางานอดิเรกใหม่ๆ เพื่อให้ตัวเองไม่รู้สึกเบื่อกับงานเดิมๆตลอดเวลา คุณครูอาจจะลองหางานอดิเรกใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่นเย็บปัก ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร เป็นการลดความสดใจเรื่องงานให้สมองมีโอกาสได้พักผ่อนและทำสิ่งใหม่ๆอีกด้วย

แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นกับคุณครูคนอื่น ๆ อีกสิ่งที่คุณครูทำได้คือการแบ่งปันความคิดและประสบการณ์กับเพื่อนร่วมอาชีพ ที่เข้าใจวิถีชีวิตครูเช่นกัน ความเข้าอกเข้าใจและความสัมพันธ์ในระหว่างค86Iรูนี่เอง ที่สามารถทำให้คุณครูใช้ทำงานต่อไปได้อย่างมีความสุขมากขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มจากปรึกษาและช่วยเหลือคุณครูด้วยกัน หรือเข้าร่วมแบ่งปันความคิดร่วมกันบทแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อครู เช่น Teacher Center เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรื่องราวใหม่ๆในห้องเรียน

 

 

ที่มา wgu.edu