วิทยาการคำนวณ วิชาใหม่ในศตวรรษที่ 21

          ในโลกปัจจุบัน เด็กและเยาวชนยุคใหม่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่อยู่รอบตัว สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตหรือแล็ปท็อป กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรง

          ชีวิตไม่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ แต่หลายประเทศได้เริ่มสอนวิธีการคิดกระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้กับพวกเขาแล้ว เมื่อปี 2014 ที่ประเทศอังกฤษมีการ

         ปรับหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์ที่สอนกันอยู่ในโรงเรียนเป็นรูปแบบใหม่ ซึ่งพวกเขาจะแนะนำให้นักเรียนรู้จักกับกระบวนการคิดในทางคอมพิวเตอร์(Computational

Thinking: CT) กันตั้งแต่ระดับ Key Stage1 หรือระดับอนุบาล (อายุ5-6 ปี)

         พวกเขาไม่ได้พยายามทำให้เด็กทุกคนกลายเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์แต่สอนให้เด็กๆ รู้จักคำว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คืออะไรทำงานอย่างไรมีประโยชน์

         อย่างไร หรือได้เรียนรู้คำศัพท์เฉพาะเช่น “อัลกอริธึม” นั้นหมายถึงอะไร เป็นลักษณะการประมวลผลแบบไหน ซึ่งบางครั้ง มันไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

        เสมอไป ในชั่วโมงการสอนวิชา Coding คุณครูจะไม่ได้นำเรื่องราวซับซ้อนของเทคโนโลยีมาอธิบาย แต่กลับทำให้เข้าใกล้ตัวเด็กมากขึ้น ให้เป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้นักเรียนเรียงลำดับความคิดแบบคอมพิวเตอร์เช่น เมื่ออธิบายถึงชุดคำสั่ง ครูอาจยกตัวอย่างสูตรการทำ

         ขนมหวานที่นักเรียนชอบกินหรือให้เด็กๆ ลำดับกิจกรรมในช่วงเช้าก่อนมาโรงเรียนฝึกตั้งโจทย์เขียนลำดับสิ่งที่ต้องทำเพื่อบรรลุโจทย์แล้วหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นว่าขาดอะไรไปหรือเปล่า ถ้าทำแบบนี้จะเกิดอะไร จะได้ตามโจทย์ไหม แล้วแก้ไขเพื่อให้โจทย์บรรลุซึ่งเป็นวิธีการคิดแบบคอมพิวเตอร์แล้วจึงค่อยๆ เริ่มรู้จักการใช้อุปกรณ์ ได้สัมผัสแท็บเล็ตทีหลัง ที่จริงแล้วการเขียนโค้ดว่าเป็นเรื่องของการใช้สัญลักษณ์และกระบวนการคิดก็ไม่ได้

         แตกต่างอะไรกับวิชาคณิตศาสตร์ที่เด็กในวัยนี้กำลังเริ่มเรียนและการแนะนำให้รู้จักการเขียนโค้ดตั้งแต่เด็กๆ ยังทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลไปไกลกว่าการสื่อสารการเรียนรู้

         ค้นคว้าหรือความบันเทิงแต่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็ก และสามารถสร้างสรรค์ได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน Scratch (อ่านว่า สะ-แครช) ถือว่าเป็นผู้บุกเบิก โปรแกรมสอนการเขียนโปรแกรมแบบ Block Programming มีลักษณะเหมือนการต่อจิ๊กซอว์หรือเลโก้บล็อค โดยบล็อคแต่ละชิ้นมีสีสันที่แตกต่างกัน ซึ่งหมายถึงรูปแบบการเขียนหรือโครงสร้างของโปรแกรมที่แตกต่างกันทำให้ไม่ต้อง สนใจกับไวยากรณ์อันซับซ้อนของภาษาโปรแกรมต่างๆ แต่เน้นไปที่การพัฒนาตรรกะและทักษะในการแก้ปัญหาของผู้เรียน จนเมื่อนักเรียนเคยชินกับโครงสร้างของการ เขียนโค้ดและเข้าใจวิธีการแก้ปัญหา ก็จะทำให้สามารถเปลี่ยนไปเขียนโค้ดด้วยภาษาอื่นๆ ได้โดยง่าย

        กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชาวิทยาการคำนวณใช้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2560 และเริ่มบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561ที่ผ่านมาทำให้ “กระทรวงศึกษาธิการบรรจุวิชา Coding หรือวิทยาการคำนวณเป็นวิชาบังคับคือวิชาที่ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลไปไกลกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้ค้นคว้าหรือความบันเทิง แต่มันคือส่วนหนึ่งในชีวิตของเราที่สามารถสร้างสรรค์ให้มันเหมาะกับวิถีชีวิตในอนาคต”

 

#LearnEducation #LearningSolutionForAll