สอนนักเรียนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ ทำยังไงให้รู้จัก Empathy

สอนนักเรียนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ

Empathy แปลว่า ความใส่ใจ ความรู้จักเห็นอกเห็นใจ

เขาว่าความเห็นอกเห็นใจสอนกันไม่ได้ จริงหรือไม่? เด็ก ๆ ที่ไม่ได้รับการปลูกฝังเรื่องความเห็นอกเห็นใจตั้งแต่เด็ก เมื่อโตมาก็ยากที่จะเป็นคนที่เห็นประโยชน์ส่วนรวมดีกว่าส่วนตน หลาย ๆ ครั้งที่สังคมนั้นบีบบังคับให้นักเรียนต้องคิดถึงแต่ตัวเองเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งเรื่องการเรียนและอนาคตที่ไม่แน่นอน จนยากที่จะมองเห็นคนอื่นนอกจากตัวเอง แต่การมีความเห็นอกเห็นใจไม่ได้แปลว่านักเรียนจะต้องทิ้งความเป็นตัวเองเพื่อผู้อื่นเสมอ แต่คือการที่นักเรียนต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนอื่นภายในสังคมอย่างเป็นสุขและมีความเข้าอกเข้าใจต่อสิ่งรอบข้าง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ให้การศึกษานี้เองที่จะปลูกฝัง Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจให้กับนักเรียนผ่านการเรียนการสอน

  1.       ให้นักเรียนมีโอกาสแสดงอารมณ์เมื่อเศร้าหรือสูญเสีย หลาย ๆ ครั้งที่เรามักจะบอกเด็กนักเรียนให้เข้มแข็งและหยุดร้องไห้ เก็บความดกรธหรือความเศร้าไว้ในใจ แต่ว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนบอกเล่าความรู้สึกด้านลบของตัวเอง แสดงถึงด้านที่อ่อนไหวของตัวเองโดยที่รู้สึกว่ายังมีคนสนับสนุนและให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นวีที่ทำหันักเรียนได้มีโอกาสได้เข้าใจถึงความรู้สึกด้านลบของตัวเอง และพัฒนาเป็นความเข้าในและเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น โดยคุณครูเองก็ต้องเป็นตัวอย่างที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจให้นักเรียนดูด้วย

  2.       ให้นักเรียนคอยตั้งคำถาม “แล้วคนอื่นจะรู้สึกยังไง? ไม่ว่าจะจากเรื่องจริงหรือจากเรื่องเล่า หรือแม้แต่การสอนประวัติศาสตร์ คุณครูลองให้เด็กนักเรียนได้ฝึกตั้งคำถาม และคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น เป็นการฝึกฝนความเห็นอกเห็นใจได้อย่างหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป นักเรียนจะนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และถามตัวเองในสถานการณ์ต่าง ๆ ว่า “แล้วคนอื่น/อีกฝ่ายจะรู้สึงยังไง” ซึ่งเป็นคำถามสำคัญในการเริ่มต้นความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ

  3.       ให้นักเรียนศึกษาตัวละครในหนังสือ นี่เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สนุกสำหรับนักเรียนและเหมาะกับการเรียนวิชาภาษาหรือวรรณกรรมต่าง ๆ ลองถามนักเรียนให้สวมบทตัวละครต่าง ๆ ศึกษามุมมอง บุคลิก และอื่น ๆ ของตัวละคร แล้วให้นักเรียนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องมุมมองใหม่ ๆ ที่ได้รับจากการศึกษาตัวละครเหล่านัน

  4.       สอนนักเรียนให้ฟัง เป็นเรื่องปกติที่เด็กหลายคนจะมีปัญหาเรื่องการฟังผู้อื่น วิธีการฝึกฝนให้นักเรียนรู้จักเป็นผู้รับฟังที่ดีทำได้ เช่น การให้นักเรียนทวนสิ่งที่เพื่อนร่วมชั้นตัวเองเพิ่งตอบไปเมื่อถามคำถามในห้องเรียน เมื่อทำไปสักพักนักเรียนจะค่อย ๆ ฝึกทักษะการฟังเอง

  5.       ให้นักเรียนรู้จักตัวเอง การให้นักเรียนตั้งคำถามว่า สิ่งที่ตัวเองทำได้ดีคืออะไร ด้วยความสามารถที่ตัวเองมีอยู่จะสามารถช่วยเหลือคนรอบข้างได้อย่างไรบ้าง เป็นการเพิ่มความมั่นใจในข้อดีของตัวเองและสนับสนุนให้นักเรียนอยากนำข้อดีของตัวเองไปต่อยอดเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

 

สิ่งสำคัญคือ คุณครูผู้ให้การศึกษาเองก็ต้องเป็นตัวย่างที่ดี เห็นอกเห็นใจนักเรียน เรียนรู้ที่จะเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นจะติดตัวนักเรียนไปในระยะยาว