เผยกลยุทธ์การสอนของเหล่าคุณครู-อาจารย์ กับการสอนออนไลน์ที่เกิดประสิทธิภาพ

         เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการรวบรวมเกี่ยวกับการศึกษา เผยข้อมูลเชิงลึก 5 ประการเกี่ยวกับการสอนเสมือน โดยอ้างอิงแนวทางจากการสอบถามเทคนิคของเหล่าผู้สอนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในระดับโลก โดยอ้างอิงจากบทความในเว็บไซต์ https://www.edutopia.org/article

         ทั้งนี้ เรียกได้ว่าในปี 2020 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้คนทั่วโลกต้องปรับตัวความเป็นอยู่การใช้ชีวิต สำหรับการศึกษาทั่วโลกนั้น ห้องเรียนจำนวนมากต้องปรับตัวสู่การเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ คุณครูพยายามปรับการสอนให้สอดรับกับสถานการณ์ ขณะที่หลายๆ คน ได้เริ่มทำการสอนจากทางไกลเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ประสบการณ์เป็นเรื่องสำคัญ ในการปรับตัวและพยายามช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานการณ์เช่นนี้
โดยเราได้พบวารสารการเรียนรู้ออนไลน์ที่เปิดแนวทางพร้อมเข้าถึง และแบ่งปันเรื่องราวของกลุ่มอาจารย์ผู้สอนออนไลน์ทั้ง 8 คน ซึ่งพวกเขาได้รับรางวัลประสบการณ์สอนหลักสูตรออนไลน์ 109 ปี โดยผู้สอนใช้วิธีการที่ยืดหยุ่นในการทำงานเพื่อสอนนักเรียนและให้ความสำคัญ มองภาพการสะท้อนกลับในการเรียนรู้ โดยวารสารดังกล่าว เผยข้อมูลเชิงลึก 5 ประการ เกี่ยวกับผู้สอนออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจ ดังนี้

1. AUTHENTIC AND RELEVANT COURSE MATERIAL (เนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องและถูกต้อง)
        มีเนื้อหาออนไลน์มากมายที่จะใช้เชื่อมโยงและอ้างอิงกับการเรียนการสอน รวมถึงเนื้อหาหลักที่แท้จริงซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการยึดการเรียนรู้ โดยกรณีที่นำมาจากประวัติศาสตร์ของเราหรือโลกธรรมชาติให้บริบทที่หลากหลายและความแตกต่างกันอย่างมากมายซึ่งการออกแบบสมมุติหรือตัวอย่างประกอบมักขาดไป โดยการสอนนักเรียนพร้อมวิเคราะห์และตีความสื่อหลักโดยมีเนื้อหาที่เหมาะสม สามารถกระตุ้นการคิดและการมีส่วนร่วมที่สำคัญของนักเรียนได้

2. A VARIETY OF MULTIMEDIA RESOURCES (ความหลากหลายของแหล่งข้อมูลมัลติมีเดีย)
         เมื่อพูดถึงสื่อภายนอกสิ่งสำคัญคือต้องจัดหาสื่อในรูปแบบที่หลากหลาย การจัดหาเนื้อหาวิดีโอในรูปแบบเสียง การอ่านและการโต้ตอบ สามารถทำให้หลักสูตรการเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้การปรับปรุงการเข้าถึงของหลักสูตร เพื่อให้สอดรับกับนักเรียนบางกลุ่ม ที่มีปัญหาด้านการฟัง อาจมีการนำอุปกรณ์เรียนเสริม ที่เป็นวัสดุประกอบการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเห็นภาพ มาเป็นตัวกระตุ้นสอนเพิ่มความรับรู้ในการเรียนการสอนได้

3. STUDENT CREATION OF CONTENT—INDIVIDUALLY AND COLLABORATIVELY (การสร้างเนื้อหาของนักเรียน – บุคคลและความร่วมมือ)
         การให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม ระหว่างการทำการเรียนการสอน ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถให้นักเรียนเข้ามามามีบทบาท ออกแบบสื่อการเรียนการสอนเสนอแนะหรือนำเสนอความคิดเห็น เสนอมุมมองที่แตกต่างหรือคล้ายกัน การนำเสนอร่วมกันถือเป็นบทบาทที่สำคัญทั้งต่อผู้สอนและนักเรียนด้วย

4. STUDENT REFLECTION ON LEARNING (การสะท้อนกลับของนักเรียนในการเรียนรู้)
         การฟังเสียงสะท้อนเพื่อนำมาวิเคราะห์หลังทำการสอน ถือเป็นเรื่องสำคัญในทุกสภาพแวดล้อม โดยยิ่งหากเป็นการทำการเรียนการสอนออนไลน์ คุณครูผู้สอนควรประเมินสภาพจิตใจ ความสามารถในการรับความรู้ของนักเรียนแต่ละคนได้ อีกทั้งกิจกรรมในการมีส่วนร่วม การทำแบบทดสอบ การทำแบบสอถาม หลังเรียน เพื่อสะท้อนความรู้ของนักเรียนที่ได้รับหลังการเรียนจบ

5. EXPLANATION OF PURPOSE (คำอธิบายวัตถุประสงค์)
        สำหรับการสอนออนไลน์นั้น ควรมีแบบแผนแนวทางการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียน เตรียมความพร้อมสำหรับการเรียน เพราะเชื่อว่าในขณะทำการเรียน นักเรียนมักจะตั้งตารอเพื่อเรียนรู้ โดยครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องบอกแผนการสอนทั้งหมด แต่ควรบอกภาพรวมว่านักเรียนจะได้รับและเรียนรู้อะไรบ้าง การจากทำการเรียนการสอนออนไลน์ในแต่ละครั้งนั้นๆ

สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ เรียกได้ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับวงการการศึกษาไทย แต่ด้านสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้งผู้เรียน ผู้สอนต้องรับมือและปรับตัวไปกับสถานการณ์ดังกล่าว ลองนำวิธีการแนะนำข้างต้นไปปรับใช้ พร้อมทั้งหาแนวทางการเรียนการสอนที่เหมาะกับกลุ่มคน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

ที่มา : https://www.edutopia.org/article

#LearnEducation #LearningSolutionForAll