5 งานวิจัยที่พร้อมเปลี่ยนแปลง ‘โลกแห่งการศึกษา’

          งานวิจัยด้านการศึกษาที่มั่นใจว่าเป็นประโยชน์และเป็นก้าวใหม่ของการศึกษา ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีใหม่ ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาระหว่างสีผิวการคิดถึงความเป็นอยู่ของนักเรียนและครู งานวิจัยที่ต้องทำให้กลับไปคิดว่า การเน้นด้านวิชาการอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป

1. Back to basic สภาพแวดล้อมสำคัญต่อการเรียนรู้
         การจัดห้องเรียนให้กลายเป็นพื้นที่พร้อมเรียนรู้ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของนักเรียนได้อย่างเหลือเชื่อ จากการศึกษาพบว่า การให้ความสำคัญกับการต้อนรับนักเรียนตั้งแต่หน้าประตูส่งผลดีทั้งทางด้านจิตใจ อารมณ์ และความพร้อมในการเรียน ซึ่งสามารถทำให้เด็กๆ เข้าเรียนเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ แถมยังลดพฤติกรรมก่อกวนได้อีก 9 เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันมากเกินไปนั้นก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะจะทำให้นักเรียนสนใจและจดจำได้น้อยลง ในทางตรงกันข้ามห้องเรียนที่ผสมผสานสื่อการเรียนการสอน โปสเตอร์สร้างแรงบันดาลใจ และผลงานของนักเรียนจะสร้างความรู้สึกอบอุ่นและมีชีวิตชีวามากขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลถึงการเรียนที่ดีขึ้นด้วย

2. เทคโนโลยีศึกษาสมองในระหว่างคาบเรียน
          เมื่อสมอง คือหัวใจของการเรียนรู้ เราจึงต้องศึกษาสมอง โดยใช้เทคโนโลยีตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองระหว่างเรียนได้ จากการศึกษาพิสูจน์ได้ว่าทักษะการอ่านเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาสมองมนุษย์ เพราะยิ่งการอ่านแข็งแรงมากเท่าไหร่ ส่วนต่างๆในสมองก็จะปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ การศึกษาการทำงานเครือข่ายสมอง (brain networks) ของเด็กก่อนวัยเรียนในขณะที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟัง โดยเปรียบเทียบทั้งหนังสือที่มีภาพและไม่มีภาพประกอบ รวมถึงศึกษาสมองของเด็กๆ ในระหว่างที่พวกเขาดูวิดีโอแอนิเมชั่น และศึกษาความเชื่อมโยงของเครือข่ายสมอง ผลคือเด็กก่อนวัยเรียนเหมาะกับหนังสือที่มีภาพประกอบเป็นอย่างยิ่ง

3. ตั้งคำถามกับความเชื่อเรื่องการศึกษา
          นักวิจัยหลายคนเริ่มกลับไปตั้งคำถามกับผลการศึกษาสุดฮิตอย่าง รูปแบบการเรียนรู้ (learning styles) กรอบความคิดแบบเติบโต (growth mindset) และแบบทดสอบมาร์ชเมลโลว์ว่าในยุคปัจจุบัน แนวความคิดประเภทนี้ยังสามารถนำมาใช้ได้อยู่อีกหรือไม่ คือคำถามที่นักวิจัยหลายคนกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง ซึ่งนักวิจัยพบว่าไม่พบประโยชน์อะไร จากการจับคู่รูปแบบการเรียนตามความรับรู้ของเด็กๆ ครูจึงควรหันมาใช้วิธีที่เชื่อถือได้จริง เช่น การผสมผสานเนื้อหากับภาพ ซึ่งได้ผลดีกว่าการใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

4. เด็กๆ ทุกคนต้องการบทลงโทษที่เท่าเทียมกัน
        ผลการวิจัยพบว่า 40% ของเด็กชายผิวดำที่เกิดในปี 1998-2000 และเข้าเรียนในหลายเมืองใหญ่ของสหรัฐอเมริกาถูกพักการเรียนหรือไล่ออกตอนอายุ 9 ขวบ แต่ในขณะที่เด็กชายผิวขาวกลับมีเพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น การวิจัยยังพบอีกว่า ความแตกต่างนี้เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านระเบียบวิจัยของโรงเรียนและวิธีคิดของครูมากกว่าความประพฤติของนักเรียน และแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งจากอคติในพฤติกรรมไม่ดีของเด็กชายผิวดำมักถูกมองว่าแย่กว่าเด็กชายผิวขาว

5. การเรียนรู้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น เมื่อเกิดจากความผิดพลาด
         จากงานวิจัยพบว่า การลองให้นักเรียนเดาคำตอบไปเรื่อย แล้วเฉลยให้พวกเขาได้รู้ว่า สิ่งที่พวกเขาตอบนั้นใกล้เคียงคำตอบที่ถูกต้องแค่ไหน จะยิ่งทำให้นักเรียนจดจำได้ง่ายกว่าการพยายามท่องจำข้อมูลแบบธรรมดา โดยในการทดลองให้ผู้เข้าร่วมพยายามจดจำคำศัพท์แบบปกติด้วยการท่อง พบว่าโดยเฉลี่ยพวกเขาสามารถจดจำคำศัพท์เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อใช้วิธีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เดาความหมายของคำศัพท์ ก่อนที่จะเฉลยความหมายที่ถูกต้อง พบว่าโดยเฉลี่ยผู้เข้าร่วมการทดลองสามารถจดจำคำศัพท์ได้มากถึง 80%

ที่มา : https://thepotential.org/2018/12/19/2018-education/