7 วิธีเพิ่มสมาธิและความสนใจนักเรียน ในช่วง Online Learning

7 วิธีเพิ่มสมาธิและความสนใจนักเรียน

7 วิธี เพิ่มสมาธิและความสนใจนักเรียน ในช่วง Online Learning

โดยในช่วงเวลาของการเรียนออนไลน์ (Online Learning) เป็นเรื่องยากที่จะทำให้นักเรียนมีสมาธิกับการที่ต้องอยู่กับหน้าจอนาน ๆ  โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ๆ คุณครูเลยต้องคอยหาวิธีการจัดการห้องเรียนที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เรียนได้มากขึ้น

1.เพิ่มกิจกรรมที่ต้องขยับตัวในช่วงการเรียนแบบ Online Learning

เพราะหลาย ๆ ครั้งการนั่งนิ่ง ๆ อยู่ต่อหน้าจอนั้น นอกจากจะผิดวิสัยและธรรมชาติของเด็กแล้วยังทำให้เด็กรู้สึกเบื่อการสอนได้ด้วย การที่คุณครูมีกิจกรรมที่ให้นักเรียนสามารถขยับร่างกายได้จึงมีส่วนช่วยให้นักเรียนรู้สึกลุกลี้ลุกลนน้อยลงได้ เช่น สำหรับการเรียนในเด็ก เล็ก อาจจะเพิ่มกิจกรรมให้นักเรียนขยับร่างกายร่วมกัน หรือมีการพักระหว่างเรียนเพื่อให้ขยับเขยื่อนร่างกาย

2.ให้มีเวลา”ช่วงสมาธิ” ให้นักเรียนจดจ่อ

นักเรียนหลายคนอาจจะยังไม่เคยชินที่ต้องจดจ่อสมมาธิกับสิ่งตรงหน้ามาก ดังนั้นคุณครูจึงต้องช่วยนักเรียนโดยการมีช่วงให้นักเรียนฝึกฝนสมาธิ ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ตกลงกับเด็ก ๆ ว่า ภายในเวลาคุณครูที่กำหนดและจับเวลา เด็ก ๆ จะต้องจดจ่อสมาธิกับกิจกรรมที่คุณครูกำหนดให้เท่านั้น โดยให้สัญญาณเวลาเริ่มและจบ เช่นใช้นาฬิกาจับเวลา หรือสัญลักษณ์มือสื่อสารกับนักเรียน และอาจจะเริ่มฝึกจากเวลาสั้น ๆ เพื่อให้นักเรียนค่อย ๆ พัฒนาทักษะนี้

3.จัดเวลาในห้องเรียนให้ยืดหยุ่น

เว็บไซต์ edutopia ให้คำแนะนำไว้ว่า หากว่านักเรียนของคุณครูเป็นเด็กหกขวบ ให้คาดหวังเอาไว้ว่านักเรียนจะมีสมาธิจดจ่อการเรียนอยู่ที่ 12-30 นาที ซึ่งจะเห็นว่าเวลานั้นกว้างและไม่แน่นอนมาก ดังนั้นความยืดหยุ่นในการจัดเวลาเรียนจึงมีความสำคัญอย่างมากในการทำให้การเรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อเตรียมความพร้อมการเรียนต่าง ๆ ครูจึงต้องคอยนึกถึงการปรับเวลาให้ความยืดหยุ่น เช่น การสอนครั้งนี้ มีการอธิบายยาวไหม สามารถปรับได้กี่แบบ

4.กำจัดจุดล่อตาล่อใจ

สิ่งนี้สำคัญมากเมื่อสอนนักเรียนที่ยังเด็กและถูกดึงดูดความสนใจได้ง่าย การที่คุณครูสร้างพื้นที่จอของคุณครูให้เป็นระเบียบและสะอาดช่ววยนักเรียนได้มากเลย

5.เล่นเกมช่วยจำ

การฝึกความจำมีผลประโยชน์กับนักเรียนในระยะยาว  การเล่นเกมที่เน้นความจำจะช่วยนักเรียนจดจ่อต่อกิจกรรมตรงหน้าได้มากขึ้นและเป็นการท้าทายความสามารถของเด็ก ๆ อีกด้วย คุณครูอาจจะเล่นเกมจำคำศัพท์ หรือสูตรเลขต่าง ๆ ระหว่างเรียน เพื่อกระตุ้รความสนใจของนักเรียน โดยเกมนั้นไม่มีความจำเป็นต้องยากหรือซับซ้อน

6.จัดอันดับและสับเปลี่ยนงานต่างๆ

ห้องเรียนแต่ละห้องมีการจัดการการเรียนการสอนและสมาธิต่าง ๆ กันไป บางกิจกรรมอาจจะใช้ได้ดีกับห้องเรียนหนึ่งแต่ใช้ไม่ได้กับอีกห้องหนึ่ง คุณครูจึงต้องคอยจัดอันดับสับเปลี่ยน และสำรวจว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดไปนั้นมีประสิทธิภาพกับแต่ละห้องหรือไม่ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการคอยให้นักเรียนช่วยประเมินว่ากิจกรรมไหนที่นักเรียนชอบไม่ชอบ การรับความเห็นจากนักเรียนทำให้คุณครูสามารถจัดกิจกรรมได้ง่ายขึ้น

7.แบ่งเวลาทำงานให้เป็นช่วง ๆ สั้น ๆ

ถ้าหากว่ามีงานไหนไม่สามารถตัดให้สั้นลงได้ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้เวลานาน นักเรียนอาจจะมีปัญหาในการทำสมาธิ คุณครูอาจจะลองจัดกิจกรรมเป็นช่วง ๆ แล้วขั้นด้วยกิจกรรมอื่น ๆ เพราะเด็ก ๆ หลาย ๆ คนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อแบ่งช่วงเวลากิจกรรมเป็นช่วงสั้น ๆ แทนการทำทีเดียวในเวลายาว ๆ

 

 

ขอขอบคุณที่มาจาก edutopia