AI กับ การศึกษา ในอนาคต

          ยุคนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence)โปรแกรมสมองกลแสนฉลาดมีวิธีการทำงาน เหมือนสมองมนุษย์ที่สามารถคิดวิเคราะห์วางแผนและตัดสินใจ ได้โดยการประมวลผลจากฐานข้อมูลที่มี
ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมันอยู่รอบตัวเราและใช้งานแทบทุกวัน อย่างเช่นSearchEngine เจ้ายักษ์อย่าง Googleในระหว่างที่เรากรอกคำค้นหาลงไป AI ของ Google ก็จะวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังขนาดยักษ์ที่มีเว็บไซต์จำนวนมหาศาล และแสดงผลในสิ่งที่เราต้องการเพียงแค่เสี้ยว
วินาทีเท่านั้น ซึ่งเร็วกว่ามนุษย์แบบเทียบไม่ติด ไม่ใช่แค่การค้นหาข้อมูล แต่ทุกความสามารถปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้เรียนรู้ได้ทั้งหมด จนมีการทำนายไว้ว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าหลายอาชีพอาจจะถูกแย่งชิงในสักวันคุณ
 
ครูหลายท่านอาจสงสัยว่า “AI จะสามารถมาแทนที่ครูได้หรือไม่?”
          ถ้าหากลองวิเคราะห์จากหน้าที่และคุณสมบัติครูแล้วคงต้องตอบว่าในมิติของการสอน พวกสมองกลเหล่านี้คงจะสามารถทดแทนคุณครูได้ในสักวันหนึ่ง โดยเฉพาะในรายวิชาความรู้ที่ตายตัวอย่างเช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานหรือภาษาเบื้องต้น ที่องค์ความรู้ไม่มีเพิ่มและไม่ได้เรียนรู้ผ่านการตั้งคำถาม แต่สำหรับวิชาที่มีความซับซ้อน ต้องมีการใช้คำถามในการเรียนรู้ เช่นศิลปะสังคมวรรณกรรมวิชาชีวิตและประสบการณ์ชีวิต AI คงไม่สามารถทดแทนได้แน่ๆ ทั้งหมดเป็นเรื่อง
ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง เทคโนโลยี AI คงมีวิวัฒนาการใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาให้แตกต่างออกไปในทิศทางที่ดีขึ้น และช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างแน่นอน
 
แล้ว AI ช่วยอะไรครูได้บ้าง ?
ลดภาระครูด้วยระบบให้เกรดอัตโนมัติ
          หนึ่งในสิ่งที่คุณครูหลายท่านรู้สึกไม่ค่อยมีความสุขสักเท่าไหร่และกลายเป็นภาระหนักขึ้นในทุกวัน คือการที่ต้องตรวจข้อสอบและการบ้านหลายร้อยชุดในแต่ละสัปดาห์รวมไปถึงการรวมคะแนนนักเรียนเพื่อตัดเกรดตอนปลายภาค ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอน แม้ว่าในปัจจุบัน AI จะยังไม่สามารถมาแทนการคิดเกรดของคุณครูได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แต่มันจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
แน่นอน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นทดลองของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกเช่น HarvardUniversityด้วยการสร้าง AI เลียนแบบการประเมินนักเรียนของคุณครูโดยจะนำปัจจัยต่างๆ ในห้องเรียนมาวิเคราะห์ ซึ่งเทคโนโลยีการให้เกรดเริ่มเข้ามาในบ้านเราแล้วก็คือโปรแกรมการตรวจข้อสอบแบบปรนัย(เลือกช้อยส์) และตอนนี้ก็เริ่มมีโปรแกรมประมวลผลเกรดในระดับมหาวิทยาลัยแล้วด้วย ถ้าปัญญาประดิษฐ์นี้สำเร็จจะส่งผลให้คุณครูมีภาระงานลดลงและสามารถทุ่มเทเวลาให้กับการสอนมากขึ้น
 
ช่วยออกแบบการสอน
          ปัจจุบัน  AI สามารถสร้าง “เนื้อหาการสอน”ที่มีความสมบูรณ์เทียบเท่ากับครูที่เป็นมนุษย์ในเวลาที่น้อยกว่า แถมยังสามารถแปลงหนังสือเรียนเล่มนั้นให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละช่วงอายุได้อีกด้วย เช่น โปรแกรมฮิตอย่าง Cram101 ที่เป็น AI ประมวลเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเรียน แล้วแสดงผลเป็นเนื้อหาผ่านการย่อยมาแล้วมีบทสรุปของทุกบทมีแบบทดสอบให้นักเรียนใช้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Netex Learning ที่คอยช่วยอาจารย์ผู้สอนในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหลายชนิดเช่นสื่อเสียง
วิดีโอ และมีผู้ช่วยออนไลน์
 
ระบบตอบข้อสงสัยให้กับนักเรียน
         นักเรียนทุกคนจะได้รู้จักกับครูผู้ช่วยคนใหม่ที่มีชื่อว่า จิลล์วัตสัน ผู้ที่สามารถตอบคำถามทุกคำถามด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งนักเรียนสามารถถามคำถามกับเขาได้ตลอดเวลาเพราะครูผู้ช่วยคนนี้แท้จริงแล้วคือ AIที่บรรจุคำถามและคำตอบมากมายเกี่ยวกับวิชาที่เรียน นักเรียนจึงสามารถสอบถามข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับวิชาเรียนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งเป็นการลดภาระในการตอบ
คำถามของคุณครูลงได้ทำให้คุณครูมีเวลาในการเตรียมตัวสอนมากยิ่งขึ้นนั่นเอง.
 
 
#LearnEducation #LearningSolutionForAll